ประวัติเขื่อนวชิราลงกรณ
ความเป็นมา
เขื่อนวชิราลงกรณ แม่น้ำแควน้อยมีความยาวประมาณ 390 กิโลเมตร เกิดจาก เทือกเขาตะนาวศรี ซึ่งเป็น เส้นกั้น พรมแดนด้าน ตะวันตก ระหว่างประเทศไทย และประเทศ เมียนม่า (ประเทศพม่าเดิม) ประกอบด้วยลำน้ำสำคัญ 3 สายคือ บีคี่ใหญ่ ซองกาเลีย และ รันตี แม่น้ำ แควน้อย ไหลไปบรรจบกับ แม่น้ำแควใหญ่ ที่ อ.เมือง จ.กาญจนบุรี ตอนที่เรียกกันว่า ปากแพรก ได้ชื่อใหม่ว่า แม่น้ำ แม่กลอง เพื่อพัฒนา ลำน้ำนี้ ให้เกิด ประโยชน์ สูงสุด
รัฐบาล จึงได้มอบหมายให้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่ง ประเทศไทย ดำเนินการ ก่อสร้าง เขื่อน เขาแหลมขึ้น ปิดกั้นลำน้ำ แควน้อย ที่บ้าน ท่าขนุน เหนือ อำเภอ ทองผาภูมิ 5 กิโลเมตร โดยมี ประวัติ ความเป็นมา คือ การไฟฟ้ายันฮี (กฟย.) เริ่มต้น ทำการ สำรวจ โครงการ แควน้อย เมื่อเดือน เมษายน 2511 ที่บริเวณ บ้านพุเตย อำเภอ ไทรโยค ระหว่างที่ กฟผ. ดำเนินการ ศึกษา และ สำรวจ โครงการ แควน้อยเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2512 เขื่อนวชิราลงกรณ
เขื่อนวชิราลงกรณ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ก็ได้จัด ตั้งขึ้น การศึกษา และ สำรวจ เพื่อทำแผนที่ ภูมิประเทศ ขุดบ่อขุดร่อง เจาะสำรวจหิน เจาะอุโมงค์ และ ข้อมูล ทางอุทกวิทยา เพื่อ การศึกษา เบื้องต้น ร่วมกับ ผู้เชี่ยวชาญ จากประเทศ ญี่ปุ่น ภายใต้ ความช่วยเหลือ ตามแผนโคลัมโบ ได้ดำเนินไป จนถึง เดือน สิงหาคม 2513 รายงาน ผลการศึกษา เบื้องต้น จึงแล้วเสร็จ เพื่อให้ การศึกษา รวมทั้งการ วางแผน ดำเนินการ เป็นไปโดย รอบคอบ กฟผ. จึงได้ติด ต่อขอ ความช่วยเหลือ ทางด้าน วิชาการ จากรัฐบาล ออสเตรเลีย ซึ่งได้จัด คณะ ผู้เชี่ยวชาญ จากบริษัท SNOWY MOUNTAINS ENGINEERING CORPOTION (SMEC) มาร่วม ดำเนินการ ศึกษา วางแผน พัฒนาลุ่ม น้ำแควน้อย ตั้งแต่ เดือน มิถุนายน 2515 กฟผ. และ คณะผู้เชี่ยวชาญ ชาวออสเตรเลีย ได้แบ่ง การดำเนินงาน ออกเป็น 4 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 รวบรวมข้อมูลเบื้องต้น และวางแผนดำเนินการในระยะต่อไป (ใช้เวลาดำเนินการ 1 ปี)
ระยะที่ 2 สำรวจด้านธรณีวิทยา (1 ปี)
ระยะที่ 3 ศึกษาสำรวจและรวบรวมรายละเอียดด้านต่างๆที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม เพื่อจัดทำรายงาน ศึกษา ความเหมาะสม 3 ปี
ระยะที่ 4 ศึกษาสำรวจในรายละเอียดเพื่อออกแบบลักษณะที่แน่นอนของโครงการ (2 ปี)
เขื่อนวชิราลงกรณผลการศึกษ และ สำรวจหาที่ตั้ง เขื่อน ในเบื้องต้น ปรากฏว่า บริเวณ เขาแหลม มีความเหมาะสม ที่จะก่อสร้าง เขื่อน และ โรงไฟฟ้า พลังน้ำได้ การสำรวจ หารายละเอียด เพิ่มเติม และ การจัดทำ เอกสาร รายงาน ความ เหมาะสม ซึ่งได้รวบรวม งานทุกด้าน อาทิเช่น ภูมิประเทศ ธรณีวิทยา อุทกวิทยา นิเวศวิทยา และสิ่งแวดล้อม ทำให้แน่ใจว่า ที่ตั้งเขื่อน เขาแหลม มีความ เหมาะสม ที่จะก่อสร้าง เพื่อการ พัฒนา ลำน้ำแควน้อย งานตาม โครงการ ได้รับความ ร่วมมือเป็น อย่างดี จากทาง ราชการ และ สถาบันการ ศึกษา เช่น สถาบันวิจัย วิทยาศาสตร์ ประยุกต์ กรมแผนที่ ทหาร กรมทางหลวง กรมทรัพยากรธรณี กรมป่าไม้ กรมชลประทาน สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สภาพัฒนา เศรษฐกิจ และ สังคมแห่งชาติ อำเภอไทรโยค อำเภอทองผาภูมิ อำเภอสังขละบุรี กองพลทหารราบที่ 9 กรมวิเทศสหการ สถานเอกอัครราชฑูต ออสเตรเลีย ประจำ ประเทศไทย สถาบันการเงิน ระหว่างประเทศ ฯลฯ เป็นต้น โดยที่โครงการ เขื่อนเขาแหลม มีความ เหมาะสม ดังกล่าวในที่สุด เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2522 คณะรัฐมนตรี ได้มีมติ อนุมัติให้ กฟผ. ดำเนินการ ก่อสร้าง โครงการ เขื่อนเขาแหลม เพิ่มเติมข้อมูลที่ http://www.vrk.egat.com/